Forum Replies Created

Viewing 3 replies - 1 through 3 (of 3 total)
  • Author
    Replies
  • in reply to: Lesson 6 Discussion Question #7304
    wilawan
    Member

    ขอแชร์ประสบการณ์จากความพยายามจะใช้ Facebook ในการประชาสัมพันธ์โครงการวัคซีนHIV เนื่องจากกลุ่มอาสาสมัครที่ต้องการเป็นบุคคลทั่วไปทางทีมวิจัยจึงคิดว่าการใช้Facebook น่าจะช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวสารของโครงการได้ดี แต่เมื่อมีความพยายามนำไปใช้กลับได้รับการทวงติงจาก IRB เนื่องจากเกรงว่าจะไม่สามารถควบคุมเนื้อหาที่โพสลงไปได้ และสุดท้ายทางทีมวิจัยจึงได้ยกเลิกการสื่อสารผ่านทางFacebook ไป

    และในหลายๆครั้งอาสาสมัครที่เข้าโครงการวิจัยรวมถึงStakeholder มักจะมีคำถามมาถามเจ้าหน้าที่โครงการวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจาก Social media ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่ถูกและผิด

    ดิฉันคิดว่าการใช้Social media ในการสื่อสารงานวิจัย เป็นช่องทางหนึ่งที่น่าสนใจมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน สามารถเข้าถึงประชากรจำนวนมากๆได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยต้องมีความระมัดระวังในการนำเสนอ การตอบคำถาม เนื่องจากหลายเรื่องเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและอาจเกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย หากเกิดความเข้าใจผิดพลาดแพร่ขยายในวงกว้าง การแก้ไขอาจจะทำได้ยาก

    in reply to: Lesson 3 Discussion Question #7207
    wilawan
    Member

    ขอยกตัวอย่างโครงการที่เคยทำและมีโอกาสให้ลงชุมชนค่อนข้างเยอะพอสมควร โดยพยายามจะเขียนให้เข้ากับแนวทางGPP ใน Module ที่3 ตามที่ตัวเองเข้าใจนะคะ อาจจะเขียนได้ไม่ละเอียดเพราะระยะเวลาค่อนข้างนานและมีรายละเอียดเยอะ สรุปให้ทุกท่านเห็นภาพคร่าวๆค่ะ ดังนี้ค่ะ
    โครงการวิจัย HPTN052 “โครงการยาต้านไวรัสในคู่ผลเลือดHIV ต่างกัน”
    เป้าหมาย: สรรหาอาสาสมัครที่เป็นคู่ซึ่งคนหนึ่งผลเลือดHIVเป็นบวกและไม่เคยกินยาต้านไวรัสมาก่อน ส่วนอีกคนผลเลือดเป็นลบ และทั้งคู่ได้เปิดเผยผลเลือดแก่กันและกันแล้ว
    – เริ่มแรกทีมได้ทำการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นและได้คัดเลือกพื้นที่เป้าหมายจากปัจจัยหลายๆด้านโดยเฉพาะความสามารถในการเดินทางมาเข้าร่วมโครงการวิจัย จนได้กำหนดพื้นที่ 5 จังหวัดภาคเหนือได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน และลำปาง
    – จากนั้นทีมได้ประสานงานอย่างไม่เป็นทางการกับสำนักงานสาธารณสุขประจำแต่ละจังหวัดเพื่อขอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนคู่ผลเลือดต่างที่เข้าสู่ระบบลงทะเบียน การกระจายตัวของประชากร แนวทางปฏิบัติ ณ เวลานั้น

    – ทีมนำข้อมูลทั้งหมดมาวางแผน จัดประชุมให้ข้อมูลโครงการวิจัยกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลแยกที่ละจังหวัด เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการ ขอข้อคำแนะนำ และประเมินชุมชนที่คาดว่าจะเป็นพื่นที่เป้าหมาย ทำให้ได้ข้อมูลในเชิงลึก ความแตกต่างข้อความคิด ความเชื่อ แนวทางปฏิบัติในแต่ละพื้นที่ เพื่อกลับมาวางแผนในระดับต่อไป

    – ลงพื้นที่โรงพยาบาล พูดคุยกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในหน่วยงานที่คาดว่าจะพบ Potential Participant ร่วมกันหาแนวทางในการติดต่ออาสาสมัคร ปัญหาและอุปสรรคต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น วิธีการเข้าถึงตัว ข้อกังวลต่างๆของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล และPotential Participant มีการวางแผนและประเมินเป็นระยะ

    – นำข้อมูล แผนการดำเนินงาน สื่อ โปสเตอร์โปรชัวร์ สปอร์ตโฆษณาต่างๆ เสนอต่อคณะกรรมการCAB เพื่อขอคำแนะนำ เป็นระยะ

    วิลาวัลย์ (ต้อย)

    in reply to: Introduce yourself #7115
    wilawan
    Member

    Hi, my name is Wilawan. I’m research nurse and recruiter at Research Institution for Health Science (RIHES), Chiang Mai,Thailand. I taking this course because I think GPP might be the tool to improve relationship and cooperation between me(my site) and community. And the last one, my favorite Thai food is “SOMTUM”. Nice to meet you all.

    In thai language
    สวัสดีค่ะทุกท่าน, วิลาวัลย์นะคะ เป็นพยาบาลวิจัยและเจ้าหน้าที่สรรหาอาสามัครอยู่ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มาเรียนGPPเพราะคิดว่า GPP คิดว่าจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างนักวิจัยกับชุมชนให้ดีขึ้น สำหรับอาหารไทยที่ชอบคือ “ส้มตำ” ค่ะ ยินดีที่ได้รู้จักทุกคนค่ะ

Viewing 3 replies - 1 through 3 (of 3 total)