Forum Replies Created
-
AuthorReplies
-
SophisudaMember
ยังเป็นการใช้สื่อสารผ่านทาง Social media แบบไม่เป็นทางการค่ะ ไม่ได้มีการระบุไว้ในแผนงานของโครงการวิจัย แต่มีการใช้เพื่อติดต่อสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลเชิงการประชาสัมพันธ์ นัดหมายการประชุม หรือติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคุลค่ะ
โดยมีการใช้ไลน์กลุ่ม (Group Line Application) ในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มคณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน (CAB) และ Stakeholder กลุ่มภาคีเครือข่ายต่างๆในพื้นที่ สำหรับนัดหมายการประชุมและอัพเดตข้อมูลข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงวิชาการและแนวทางการปฏิบัติงานต่างๆ ส่วนการติดต่อสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลโครงการส่วนใหญ่จะใช้พูดคุยผ่าน Line, Facebook Messager, Beetalk ที่เป็นช่องทางระหว่างบุคคลเท่านั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ ซึ่งข้อมูลที่ให้ผ่านทาง Social media นั้น จะต้องไม่เกินขอบเขตที่เปิดเผยได้เป็นข้อมูลเชิงประชาสัมพันธ์ตามแผ่นพับ (Brochure) หรือการให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งการป้องกันการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการใช้การสื่อสารผ่านทาง Social media ผู้ใช้จะต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หากอาสาสมัครต้องการข้อมูลเพิ่มเติม จะนัดหมายให้เข้ามาที่ศูนย์ (drop in) เพื่อพูดคุยรายละเอียดกันมากกว่าค่ะ เพราะเราจะได้เช็คความเข้าใจของผู้ได้รับข้อมูลด้วยค่ะว่าเข้าใจถูกต้องหรือไม่
ในส่วนตัวคิดว่าข้อดีของการใช้การสื่อสารผ่านทาง Social media คือ ผู้สนใจได้รับข้อมูลที่เพียงพอ ทั้งรูปภาพ ข้อความรายละเอียด พิกัดสถานที่ (share location) ก่อนตัดสินใจเข้ามาที่ศูนย์หรือเข้าร่วมโครงการ และข้อเสียคือการสื่อสารผ่านตัวอักษรอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดได้ง่ายหรือเข้าใจไม่ตรงกัน และอาจจะมีการส่งข้อมูลผิดๆต่อกันออกไปแบบขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วค่ะ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นโครงการวิจัยอาจจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากข่าวลือที่ผิดพลาด และอาจเกิดความไม่ไว้วางใจต่อชุมชนได้ค่ะโศภิสุดา (มายด์ค่ะ)
SophisudaMemberสวัสดีค่ะ เนื่องจากดิฉันเพิ่งเริ่มเข้ามาทำงานเกี่ยวกับการวิจัยได้ยังไม่ครบปี จึงขออนุญาตตอบคำถามในแง่มุมที่ได้รับข้อมูลมาจากหัวหน้าและผู้ร่วมงาน รวมถึงจากการศึกษาเอกสารของหน่วยงานนะคะ โดยศูนย์เอคโค ทำการศึกษาเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีในระยะแรก ในกลุ่ม MSM และ TG ในพื้นที่พัทยา ซึ่งในหัวข้อกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างรูปแบบการวิจัยนั้น ศูนย์เอคโคได้มีการทำงานกับผู้มีส่วนได้เสีย ตั้งแต่ครั้งเริ่มแรกเนื่องจากการเข้ามาทำงานวิจัยในชุมชนนั้น ต้องศึกษาชุมชนและสร้างความเข้าใจถึงการเข้ามาทำงานวิจัยในชุมชน โดยมีการจัดประชุมผู้มีส่วนได้เสียในชุมชนเพื่อรับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น อัพเดทข้อมูลและสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียเพิ่มเติมในทุกปี นอกจากนั้นยังมีการทบทวนเพื่อระบุผู้มีส่วนได้เสียใหม่ในทุกปี ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ และมีการบันทึกจัดทำเป็นรายงานเอกสารไว้ด้วย
นอกจากนั้นยังมีคณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน (CAB) เรียกว่า Retro CAB ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากหลากหลายภาคส่วน สำหรับให้คำปรึกษา คำแนะนำ ข้อคิดเห็นต่างๆในการทำวิจัย ในการทำงานของ Retro CAB นั้นมีออกระเบียบฯชัดเจน โดยมีการนำหลัก GPP มาใช้ในหลักการในการทำงานของ CAB ด้วย และมีการจัดทำคู่มือ CAB มีการทบทวนปรับปรุงอยู่เสมอ โดยมีการจัดประชุม Retro CAB เพื่อพิจารณาเรื่องต่างๆ ที่นักวิจัยต้องการขอคำปรึกษาในทุกๆ 2 เดือน อีกทั้งยังถือว่าเป็นเวทีสำหรับอัพเดตข้อมูลข่าวสารทางวิชาการระหว่างนักวิจัยกับCABด้วย นอกจากนั้นยังมีการจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ CAB ในทุกปี
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่ากิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างรูปแบบการวิจัยโดยทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในระยะแรกของการเริ่มทำวิจัยเท่านั้น แต่ในระหว่างการทำวิจัย ยังมีการทำกิจกรรมร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียอยู่เสมอและมีการอัพเดตเพิ่มเติมในทุกๆปี นำมาซึ่งการปรับปรุงและพัฒนางานวิจัยต่อๆไป โดยกิจกรรมฯจะถูกบรรจุอยู่ในแผนการทำงานประจำปีของฝ่าย community engagement (CE) เป็นกิจกรรมที่สำคัญและต้องทำในทุกๆปีค่ะโศภิสุดา (มายด์ค่ะ)
SophisudaMemberHi everyone, my name is Sophisuda, my nickname is Mind. I,m recruiter and educator, community engagement on RV217d at ECHO, The Department of Retrovirology, Armed Forces Research Institute of Medical Science(AFRIMS), Chonburi, Thailand. I taking this course because I want to apply the knowledge on GPP into my job for develope community.
My favorite Thai food is “Tom Kha Gai” 🙂
Nice to meet you.
Sophisuda (Mind) -
AuthorReplies