Forum Replies Created
-
AuthorReplies
-
rattikaMember
ขอนุญาตแชร์การใช้social mediaในการทำงานวิจัยค่ะก่อนอื่นเราต้องยอมรับว่าโลกของเราได้เปลี่ยนไปแล้วเปลี่ยนไปสู่ยุคสังคมออนไลน์ดังนั้นการทำงานกับบุคคลทุกภาคส่วนของstake holder และแม้กระทั่งกับตัวอาสาสมัครก็ได้ติดต่อกันผ่านsocial mediaค่ะ. ส่วนตัวเองที่ใช้บ่อยก็จะมีไลน์กับmessengerของfacebookค่ะยกตัวอย่างเช่น
การติดต่อกับstake holder ไม่ว่าจะเป็นการrecruit การให้ข้อมูลโครงการวิจัย การupdateข้อมูลต่างๆซึ่งจะสะดวกกว่าการใช้โทรศัพท์เพื่อพูคุยแบบreal time เพราะการพิมพ์คุยกันในไลน์ บางครั้งอีกฝ่ายอาจจะไม่มีเวลาคุยหากเราไลน์ไปทิ้งไว้อีกฝ่ายมาเปิดอ่านและได้เห็นข้อความหรือรูปภาพหรือไฟล์ที่แนบไปก็จะได้รับคำตอบกลับมาดีกว่าการสื่อสารโดยการใช้โทรศัพท์โทรคุยกัน
สำหรับการติดต่ออาสาสมัครเช่นการนัดหมาย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการวิจัยเพิ่มเติม อาสาสมัครมักจะชอบติดต่อทางนี้มากว่าและได้รับการตอบสนองดีกว่าการโทรศัพท์ แต่ผู้ใช้อาจจะต้องระมัดระวังในการใช้ด้วยค่ะเพราะ รูปภาพข้อความ จะไปปรากฏในที่สาธารณะเช่นส่งไลน์ผิดกลุ่มหรือผิดคนซึ่งอาจจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลอาสาสมัครได้ค่ะขอบคุณค่ะ
รัตติกาfrom RIHESrattikaMemberดิฉันขออธิบายเพิ่มเติมจากคุณจินตนา ถึงหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นพยาบาลที่ทำหน้าที่ในการสรรหาอาสาสมัคร ซึ่งคุณสมบัตรของอาสาสมัครแต่ละโครงการจะเป็นไปตามเกณฑ์การคัดเข้าของโครงการนั้นๆ เนื่องจาก ที่ siteของเราจะอยู่ในส่วนที่ เป็น clinical trial for HIV Treatment ซึ่งจะได้สื่อสารกับทางผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือขั้นตอนการสรรหาอาสาสมัครจากโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ต่างๆ ซึ่งจะต้องติดต่อกับ คลินิกฝากครรภ์และ คลินิกเด็กส่วนใหญ่ ดังนั้นจะเห็นว่าทีมวิจัยจะไม่ได้ลงชุมชน อย่างชัดเจนเนื่องจากอาสาสมัครได้รับการรักษาแล้ว อาจจะทำให้เกิดการเปิดเผยสถานะการติดเชื่อของอาสาสมัคร เป็นต้น
เมื่อทราบจากผู้ประสานงานโครงการวิจัยว่าจะมีโครงการวิจัยใหม่เข้ามา ทีมวิจัยสำรวจข้อมูลผู้ที่มีแนวโน้มเป็นอาสาสมัครโครงการวิจัยต่างๆ ในโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ พร้อมกับขั้นตอน Stake holder identification ก่อนที่จะเริ่มenroll อาสาสมัครเข้าโครงการ ,ระหว่างการดำเนินงานโครงการวิจัย, สิ้นสุดโครงการวิจัย ก็จะมีทำกิจกรรมต่างๆ discussion guide,identify participants,interpret data กับที่ม
เจ้าหน้าทีโรงพยาบาลเป็นระยะ มีการจัดการประชุม กับ Stake holder ประจำปีเพื่อ update ข้อมูลความรู้ใหม่ทางด้าน HIV และ update โครงการวิจัยต่างให้รับทราบ นอกจากนี้ RIHES ยังมี คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน (CAB)ประกอบด้วย ตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน พระสงฆ์ ตัวแทนผู้ติดเชื้อและเครือข่าย ตัวแทนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน อาสาสมัครโครงการวิจัย ฯลฯ ปัจจุบันมี 2 คณะ ได้แก่
คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชนด้านการป้องกัน CMU Prevention CAB (CMU-PC)
คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชนด้านการรักษา CMU Treatment CAB (CMU-TC)
กิจกรรม
ประชุมร่วมกับนักวิจัย ทุกระยะ 3 เดือน
การจัดทำสารที่ปรึกษาชุมชน ทุกระยะ 2 เดือน และกระจายไปใน 5 จังหวัดภาคเหนือ ประกอบด้วย โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตำบล องค์กรเอกชนที่ทำงานด้านเอดส์ กลุ่ม/ชมรมผู้ติดเชื้อ ห้องสมุดประชาชนอำเภอและจังหวัด ฯลฯ
การติดต่อประสานงานและร่วมประชุมทางโทรศัพท์กับเครือข่ายการวิจัยต่างประเทศ ได้แก่ IMPAACT CAB : ICAB , HPTN Global CWG Call : CWG , Global CAB : GCAB , MTN CWG
การติดต่อประสานงานและร่วมประชุมทางโทรศัพท์กับเครือข่ายการวิจัยภายในประเทศ ได้แก่ THAI CTU /ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย (TRC – ARC) , สีลมคลินิก
การจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน ทุกระยะ 1-2 ปี
สิ่งที่ทางผู้วิจัย ได้ปฏิบัติอาจจะใช้หลักเกณฑ์ GPP ในบางบริบทอยู่แล้ว แต่เรายังไม่มีองค์คงามรู้ ที่ชัดเจนมาปฏิบัติการที่ดิฉันได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอบรม ออนไลน์ ผ่านไป 3 Module ทำให้เห็นภาพมากขึ้น และคิดว่าจะเป็นประโยชน์นำไปปรับใช้ในอนาคตต่อไปค่ะrattikaMemberชื่อภาษาไทย๔กแล้วค่ะ
rattikaMemberHi,my name is Rattika.I’m a research nurse at RIHES,Chiang Mai,Thailand.I’m taking this course because I want to gain more knowledge to improve my work in recruitment .My favorite food is rice with spicy bacil leaves and chicken.
-
AuthorReplies