Forum Replies Created
-
AuthorReplies
-
ChintanaMember
ผลกระทบของเครือข่ายสังคมออนไลน์มีผลกระทบต่อการทำงานการวิจัยมีทั้งในเชิงบวก และเชิงลบ
ผลกระทบเชิงบวก มีดังนี้ค่ะ
1. เป็นการสร้างเครือข่ายการประสานงานการทำงานระหว่างหน่วยวิจัยผ่านไลน์กลุ่ม (Group line application) สร้างความสะดวกในการสื่อสารและสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยวิจัยได้
2. เป็นเครื่องมือช่วยในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถสื่อสารได้หลายรูปแบบ เช่น การลงทะเบียนโครงการวิจัยใน http://www.clinicaltrial.gov, http://www.clinicaltrials.in.th การเปิดเผยความมีส่วนได้ส่วนเสียในการวิจัยต่อสาธารณะ ใน website ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มช http://www.rihes.cmu.ac.th การใช้ line, facebook ในการติดต่อสื่อสารกับอาสาสมัคร ญาติ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชน เจ้าหน้าที่ทีมวิจัย CAB, สสจ., สคร, สำนักโรคเอดส์ฯ
3. เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ ทีมวิจัยใช้ line facebook ในการส่งข้อมูลไปยังโรงพยาบาลชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์โรงการวิจัยและส่งต่ออาสาสมัคครกลับสู่การดูแลตามระบบบริการสุขภาพมาตรฐานหลังสิ้นสุดโครงการวิจัย ทั้งนี้ยังต้องดำเนินการควบคู่กับการสื่อสารอย่างเป็นทางการด้วย
4. ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ด้วยช่องที่สะดวกและรวดเร็วผลกระทบเชิงลบ มีดังนี้ค่ะ
1. เนื่องจากโครงการวิจัยที่ดำเนินการอยู่เป็นโครงการวิจัยเกี่ยวกับเอชไอวีในมารดา เด็กและวัยรุ่น จึงต้องระมัดระวังเรื่องการใช้ social media อย่างมากเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่ระบุความเป็นตัวตนของอาสาสมัคร อันอาจจะส่งผลให้เกิด social harm กับอาสาสมัครได้ChintanaMemberเมื่อประมาณ 10 กว่าปีก่อน ทีมได้จัด focus group couseling สำหรับเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี พูดคุยกันในประเด็น adherence ถามถึงสาเหตุของการรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมายเพื่อนำไปปรับปรุงคิดค้นหาวิธีในการส่งเสริมวินัยในการรับประทานยา หนึ่งในข้อมูลที่ได้ที่นำมาสู่โจทย์วิจัยคือ เด็กบอกว่าจำนวนเม็ดยาเยอะ ต้องกินหลายเม็ดไม่สะดวก ทีมจึงคิดโครงการวิจัยที่ทำยารวมเม็ดที่เป็นเม็ดเล็กเหมาะสำหรับเด็ก ไม่ต้องแบ่งเม็ดยาของผู้ใหญ่ และไม่ต้องรับประทานหลายเม็ด ปัจจุบันโครงการวิจัยนี้ได้รับอนุมัติจากผู้สนับสนุนและได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
ChintanaMemberโครงการวิจัยที่ดิฉันดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเป็นการวิจัยทางคลินิกซึ่งโดยตำแหน่งงานแล้วดิฉันจะไดีมีบทบาทในส่วนการวางแผนงานเป็นส่วนใหญ่ จะได้ลงชุมชนบ้างแต่ก็นับว่าน้อยมาก การคิดโจทย์วิจัยที่ผ่านมาจะเป็นโจทย์วิจัยที่คิดโดยทีมผู้วิจัยหลักในประเทศสหรัฐอเมริกา ทีมหน่วยวิจัยเราจะมีบทบาทในการดำเนินการวิจัยเท่านั้น ขั้นตอนที่จะได้สื่อสารกับทางผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือขั้นตอนการสรรหาอาสาสมัครจากโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์ต่างๆ ดังนั้น กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลพื็้นฐานเพื่อสร้างรูปแบบการวิจัยสำหรับการวิจัยนั้นยังคงเป็นความท้าทายสำหรับการวิจัยอื่นๆ ในอนาคตค่ะ
ดังนั้น ดิฉันจะขอกล่าวถึงการทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการในขั้นตอนการสรรหาอาสาสมัครดังนี้ค่ะ
1. ทีมวิจัยระบุผู้ให้ข้อมูลหลักและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
1.1 ระดับชั้นที่ 1 ได้แก่ อาสาสมัคร ผู้ปกครอง สามี และญาติ
1.2 ระดับชั้นที่ 2 ได้แก่ เพื่อน โรงเรียน ผู้ร่วมงานของอาสาสมัคร คณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน (CAB)
1.3 ระดับชั้นที่ 3 ได้แก่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชน เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย มูลนิธิต่างๆ
1.4 ระดับชั้นที่ 4 ได้แก่ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย (IRB) คณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย (Thai FDA)
1.5 ระดับชั้นที่ 5 ได้แก่ ทีมผู้วิจัยหลักประเทศสหรัฐอเมริกา สถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (US NIH)2. ทีมวิจัยกำหนดเจ้าหน้าที่ของสถาบันฯ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมต่างๆ ในการสรรหาอาสาสมัคร
ทีมวิจัยกำหนดทีมพยาบาลที่ทำหน้าที่ในการสรรหาอาสาสมัครซึ่งจะผู้ภายใต้การกำกับดูแลของ ผู้ประสานงาน แพทย์ และหัวหน้าโครงการวิจัย3. ทีมวิจัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมต่างๆ
แบบเป็นทางการ
3.1 ก่อนที่ทีมผู้วิจัยหลัก ประทศสหรัฐอเมริกาจะพิจารณาตัดสินให้ทีมวิจัยที่สถาบันฯ ของเราดำเนินโครงการวิจัยใดๆ หรือไม่นั้น เขาจะขอให้ทีมวิจัยส่ง protocol implementation plan ไปเพื่อพิจารณาก่อนซึ่งข้อคำถามหนึ่งใน plan ดังกล่าวจะมีการระบุว่าสถาบันฯ เราคาดการณ์ว่าจะสามารถรับอาสาสมัครได้เดือนละกี่ราย ปีละกี่รายและทั้งโครงการวิจัยรับได้กี่ราย ซึ่งเราต้องทำการสำรวจและประมาณการณ์ตัวเลขให้ใกล้เคียงที่สุดแล้วส่งให้เขาพิจารณาอนุมัติต่อไป หากเราประมาณการณ์ไปแล้วต้องทำให้ได้ใกล้เคียงที่สุดเนื่องจากจะต้องมีการประเมินผลงานทุกปี
3.2 ทีมวิจัยนำเสนอโครงร่างการวิจัย หนังสือยินยอม และเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไปยัง IRB เพื่อพิจารณาอนุมัติ
3.3 ทีมวิจัยนำเสนอโครงร่างการวิจัยและหนังสือยินยอมไปยัง CAB เพื่อช่วยพิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาในโครงร่างการวิจัยและหนังสือยินยอมสำหรับอาสาสมัคร
3.4 ทีมวิจัยสำรวจข้อมูลผู้ที่มีแนวโน้มเป็นอาสาสมัครโครงการวิจัยต่างๆ ในโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ
3.5 ทีมวิจัยทำหนังสือถึงโรงพยาบาลชุมชนต่างๆ เพื่อขอความอนุเคราะห์ส่งต่อผู็ที่มีแนวโน้มเป็นอาสาสมัครมาเข้ารับการตรวจคัดกรอง
3.6 ทีมวิจัยจัดประชุมชี้แจงโครงการวิจัยและขอความร่วมมือส่งต่อผู็ที่มีแนวโน้มเป็นอาสาสมัครมาเข้ารับการตรวจคัดกรอง ณ โรงพยาบาลชุมชนต่างๆ
3.7 ทีมผู็วิจัยประชาสัมพันธ์ดครงการวิจัยทางวารสารคณะกรรมการที่ปรึกษาชุมชน วิทยุ FM 100 CMU
3.8 ทีมวิจัยติดตามสรรหาอาสาสมัครในโรงพยาบาลชุมชนอย่างต่อเนื่อง
3.9 เมื่อได้ผู้ที่มีแนวโน้มเป็นอาสาสมัครมาเพื่อทำการตรวจคัดกรองแล้ว ก่อนดำเนินการตรวจคัดกรองใดๆ กับอาสาสมัคร ทีมผู้วิจัยจะดำเนินการเล่ารายละเอียดของโครงการวิจัยให้อาสาสมัครฟังและสอบถามความสมัครใจว่าอาสาสมัครยินดีจะเข้าร่วมโครงการวิจัยหรือไม่ หากยินดีจะให้ลงนามในหนังสือยินยอมไว้เป็นหลักฐาน
3.10 ในระหว่างที่อาสาสมัครอยู่ร่วมในโครงการวิจัย หากทีมผู้วิจัยมีข้อมูลใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการวิจัยจะแจ้งให้อาสาสมัครทราบและสอบถามความสมัครใจในการอยู่ร่วมในโครงการวิจัยต่อไปหรือไม่ หากยินยอมจะให้ลงนามในหนังสือยินยอมไว้เป็นหลักฐาน
3.11 หากอาสาสมัครได้รับการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยขณะอยู่ร่วมในโครงการวิจัย ทีมผู้วิจัยจะอำนวยความสะดวกในการส่งต่อาอสาสัมครไปรับการดูแลตามสิทธิ แต่หากอาสาสมัครบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากยาหรือกระบวนการวิจัย สถาบันฯ จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทั้งงหมด
3.12 ระหว่างดำเนินการวิจัย ทีมผู้วิจัยจะดำเนินการเสนอความก้าวหน้า ความปลอดภัยของยา และอื่นๆ ให้กับ IRB, Thai FDA, CAB, US NIH ได้ทราบและ IRB จะต้องอนุมัติให้ดำเนินการวิจัยต่อไปทุกปี
3.13 เมื่อจบโครงการวิจัยทีมผู้วิจัยจะดำเนินการส่งต่ออาสาสมัครกลับไปรับการดูแลอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลชุมชน
3.14 เมื่อจบโครงการวิจัย ผู้วิจัยแจ้งผลการวิจัยให้อาสาสมัครและผู้ปกครองทราบ
3.15 ผู้วิจัยจะติดต่อกับผู้สนับสนุนโครงการวิจัย และ บริษัทยาที่สนับสนุนยาที่ศึกษาวิจัยหลังจบโครงการและทราบว่ายาที่ศึกษาวิจัยนั้นมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อจะพยายามผลักดันให้ยาที่ศึกษาวิจัย ได้รับการอนุมัติและวางขายในประเทศไทย และเข้าไปอยู่ในบัญชียาหลักของ สปสช. เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วประเทศได้รับการรักษาด้วยยาใหม่ดังกล่าวแบบไม่เป็นทางการ
3.16 ผู้วิจัยสอบถามความพึงพอใจของอาสาสมัครและผู้ปกครองต่อการมารับบริการในคลินิกวิจัยรวมถึงความประสงค์ที่จะเข้าร่วมโครงการใหม่ๆ ที่จะมีในอนาคต
3.17 ทีมสรรหาอาสาสมัครติดต่อ อาสาสมัคร ญาต เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชน ทางโทรศัพท์ ไลน์ เฟสบุ๊ค อื่นๆ4. ทีมวิจัยและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียปรึกษาหารือ เพื่อพัฒนาการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
5. ทีมวิจัยจัดทำบันทึกกิจกรรมต่างๆ ไว้เพื่อการตรวจสอบตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนการดำเนินงานจนถึงขั้นตอนการสิ้นสุดกิจกรรมทั้งหมด
6. ผู็สนับสนุนโครงการวิจัยจัดสรรทุนเพียงพอต่อการดำเนินงานต่างๆ
บทเรียนที่ได้จากการทำงานนี้ พบว่าทีมยังมีการมีการดำเนินงานหาข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนที่เป็นเป้าหมายหรือการมีส่วนร่วมของชุมชนค่อนข้างน้อย ยังไม่มีการมีส่วนร่วมจากชุมชนในบริบทอื่นๆ นอกเหนือจากการสรรหาอาสาสมัคร จึงต้องดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมและนำองค์ความรู้มาปรับใช้ในการวิจัยของทีมต่อไปค่ะ
ChintanaMemberHi everyone:
My name is Chintana Khamrong. You can call me “Mon”. Mon is a Thai word for mulberry. I work as a study coordinator for the research studies under the International Maternal Pediatric Adolescent AIDS Clinical Trials (IMPAACT) Network at the Research Institute for Health Sciences, Chiang Mai University (RIHES, CMU). I am taking this cause because I would like to learn how to ensure community and stakeholder engagement in HIV treatment and prevention researches in vulnerable populations including pregnant women and their infants, children, and adolescents.
As for the Thai food, my favorite Thai food is “Kang Sapparod”. It is “Pineapple curry”.
I am glad to meet you all.
Kind regards,
ChintanaTranslated into Thai language:
สวัสดีค่ะทุกท่าน,ดิฉันชื่อจินตนา คำร้อง เรียกชื่อเล่นว่า หม่อน ก็ได้ค่ะ ปัจจุบันทำงานเป็นผู้ประสานงานโครงการวิจัยภายใต้เครือข่ายวิจัย อิมแพ็ค ซึ่งเป็นเครือข่ายการวิจัยทางคลินิกนานาชาติเกี่ยวกับโรคเอดส์ในหญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็กและวัยรุ่น อยู่ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เหตุผลที่มาเรียน GPP นี้เพราะว่าอยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีที่จะสามารถทำให้ชุมชนและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมกับการวิจัยทางคลินิกทั้งในส่วนของการรักษาและการป้องกันในประชากรกลุ่มเปราะบาง ได้แก่หญิงตั้งครรภ์ ทารก เด็กและวัยรุ่น
สำหรับอาหารไทยที่ชอบคือ “แกงสับปะรด” ค่ะ
ยินดีที่ได้รู้จักทุกท่านนะคะ
ด้วยความปรารถนาดี
จินตนา
-
AuthorReplies